วันที่ 11: “รีลคัทเอาต์”หางานสำคัญสุด | วันนี้เน้นคัทเอาต์กับอดัมและสตอรี่บอร์ดซีนคัทเอาต์แฟรงกี้ | ร.ก.อ.ม.

9:48am เดี๋ยวจะลงไปเล่นอีลิปติค่อลครับวันนี้ แต่ขอมาแปะไว้ก่อน เมื่อคืนได้คุยกับอดัมแล้วก็ไมค์ คุยกับอดัมได้ใจความว่า ต้องทำซีนคัทเอาต์เพิ่มขึ้น ผมต้องไปเรียนอดัมอนิเมตให้จบ แล้วก็เอาริกสำเร็จมาใช้งาน แล้วก็ทำให้ซีนดูน่าสนใจมากขึ้น ใส่สตอรี่ เล่นกล้อง (ใช้ความรู้ storyboardart.org ไง) แล้วก็ลองดูจากงานทีวีโชว์ที่ชอบเป็นตัวอย่างด้วย แล้วก็ใส่ริกหลายๆตัวละคร แล้วก็ลองเอาของไม้หัวโชว์สักนิดแบบง่ายๆเข้าไปร่วมวงได้ แต่ต้องโฟกัสให้เป็น Toon Boom Harmony Cut Out Animator Portfolio ชัดๆไปเลยตรงนี้

ที่เริ่มมีความคิดคร่าวๆแล้วคือเป็นซีนแฟรงกี้ปวดอึ๊อยากเข้าห้องน้ำ เลยหาห้องน้ำในสวนกระถางครับ ซึ่งก็จะได้มีชายเล็กหรือพี่ทองจิ๋วโผล่มาด้วยได้เป็นต้นที่เป็นริกที่เคยทำไว้แล้ว (แอบเนียน blend รีลคัทเอาต์เข้าหาไม้หัวโชว์เสียหน่อย เพื่อความหนำใจส่วนตัว) ก่อนอื่นก็ลองสเก็ตช์ส่งอดัมก่อน ดีเหมือนกันทำบอร์ดออกมา จะได้เริ่มคิดในบริบทของเรื่องเล่ามากขึ้นสำหรับอนิเมชั่นคัทเอาต์ แล้วก็จะได้เริ่มคิดด้วยว่า ข้อจำกัดของตัวละครริก ทำให้เรา pose ได้ประมาณไหน เล่น acting ได้ประมาณไหน ตรงนี้ก็น่าคิดพิจารณาครับ

การเรียน paperless กับไม้หัวโชว์ ผมว่าก็ยังสำคัญแหล่ะ การวาดมือก็ยังทำให้เราได้วาดไปทีละเฟรมไงครับ มันก็เลยจะทำให้เราได้ aware รู้ตัว มากกว่า ว่าเรากำลังวาดอะไร กำลังอนิเมตอะไร ใช้พื้นฐานอยู่ไหม คือมันไม่ได้มีโปรแกรมมาช่วย ส่วนการทำไม้หัวโชว์ ก็ดีมากคือเราจะเข้าใจ สไตล์งานตัวเอง ในฐานะศิลปิน คือเป็นงานส่วนตัว (ที่ต้องระวังอย่าให้เวลาเยอะเกิน เพราะตอนนี้เน้นหางานสตูเป็นหลัก) ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นแรงบันดาลใจแบบที่บริสุทธ์ที่สุด คือทำให้เราอยากสร้างสรรค์ ก็เพราะงานตัวเองเนี่ยแหล่ะครับ ซึ่งก็ที่วางไว้ กะทำมหชวันศุกร์ เป็นการผสม ลองให้หมดทุกสกิลที่รู้ อนิเมต ดนตรี ญี่ปุ่น วาด เล่าเรื่อง ในการอนิเมตเองก็ใส่ทั้งส่วน paperless and cut out ประมาณนี้ครับ เป็นเหมือน lab ทดลอง หรือสนามเด็กเล่นของเราที่เราจะลองอะไรก็ได้ที่อยากรู้อยากเห็นอยากทำ

อันนี้เป็นสเก็ตช์ล่าสุดครับ มีไปสวนลุมด้วยเมื่อวานเย็น ฟินดี ได้สังเกตผู้คนยืดเหยียด (สังเกต แบบ สังเกตสมบูรณ์ คือสังเกตแล้ว ถามตัวเองชอบอะไร แล้วก็วาดออกมา) วันนี้ถ้าไม่เหนื่อยก็อยากจะไปซอยสวนพลูเหมือนกันแหะ อย่างนึงที่การสเก็ตช์ช่วยเราคือว่า ถึงแม้เราจะยังวาดบางอย่างไม่ได้ตามใจนึก แต่มันก็เป็น starting point ให้เราได้ รู้ตัว aware ว่า เราสนใจอะไร เราอยากศึกษาอะไรมากขึ้น ตรงนี้ด้วยครับ มันดีมาก ก็เหมือนการจดบันทึกแหล่ะ แต่ก็คือวาดออกมา (ผมชอบที่ไมค์ให้อ่านจาก Walt Stanchfield ด้วย อ่านแล้วได้แรงบันดาลใจมากให้สเก็ตช์บ่อยๆครับ)

ส่วนอันนี้เป็นเลคเชอร์แล้วก็สเก็ตช์เพื่อนๆในคลาสครับ

ส่วนอันนี้เป็นงานการบ้านอนิเมตสองเมื่อวานที่ทำเสร็จสุดท้าย มีคอมเมนต์จากไมค์มาด้วยครับ (ยังไม่เห็นในเว็บ ไว้มีโอกาสค่อยเอามาแปะครับ ก็มีหลักๆเหมือนจะจังหวะใบไม้เราพลิกกลับอาจจะเร็วไปหนึ่งเฟรมล่ะมั้ง ที่จำได้ในฟีดแบกไมค์ ออ แล้วก็มีเรื่องจังหวะที่หักศอก เหมือนไมค์จะแก้ให้หักเร็วขึ้นมั้งนะตรงนี้ ซึ่ง ซึ่ง ซึ่ง

เราจะเข้าใจว่าทำไม ก็ต่อเมื่อ ทำออกมาสองแบบแล้วมาเทียบกันครับใช่ การเคลื่อนไหวมันต้องได้กด play บ่อยๆ ให้ได้เห็นจริงๆ ไม่งั้นก็จินตนาการยากหน่อยครับ ก็เดี๋ยวค่อยลองมาแก้ดูว่ามันคือยังไงที่ไมค์ให้แก้ เพราะอะไร

อีกจุดที่จะพูดไว้คือเรื่อง timing chart ดีที่เราไม่ได้ลืมเขียนตอนนี้ แต่ว่ายังคงไม่ได้ utilize มากพอหรือใช้ให้เป็นประโยชน์นั่นคือการพิจารณาถึง slow in slow out ซึ่งไมค์ก็บอกว่า เบ็ดเสร็จโหลงโจ้ง ความหมายของการให้ทำไทมิ่งชาร์ตก็เพื่อให้เรานึกถึง GRAVITY ครับ ก็คือแรงโน้มถ่วง หรือว่าก็คือ cartoon physics เนี่ยแหล่ะ!!! อ้อแล้วนี่ก็คือสิ่งที่เรียนรู้จากที่อ่านจาก Walt Stanchfield ครับ ที่ชอบมากๆคือการที่เค้าบอกว่า เราต้อง active คือเช่นการไปเปิดโน้ตเรา สเก็ตบุกเรา เพื่อหยิบเอาแรงบันดาลใจเรามาใช้ มันพ้องกับคลาสของ คอนเนอร์มากๆ ที่ผมไม่ใช่สักแต่ถ่ายรูป แต่ว่า ตั้งใจไปเปิดดูรูปเก่าๆของตัวเอง แล้ว เอามาตั้งใจใช้ในงานเรา (ในแบบเรา) ตรงนี้ดีจริงครับ ยังไม่ได้ทำแบบนี้กับ งานวาด งานสเก็ตช์เก่าๆของตัวเองเท่าไหร่ น่าสนใจจะทำมากๆเช่นกัน

ป.ล. ช่วงนี้ฟัง ambient music from Pokemon, Nintendo เลยคิดถึง ประจวบกับการอยากทำคัทเอาต์ล่ะมั้ง เลยคิดถึงโปเกม่อนเป็นพิเศษ อยากจะไปหา GIF มาสตัดดี้ เฟรมบายเฟรมครับ อืม Gotta Catch อ่า ไม่เอาอ่ะ จับหมดไม่ไหวเหนื่อย ขอเน้นเลี้ยงเก็บเลเว่ลพอใจละ อิอิ

5:20pm วันนี้กะจะเปิดฤกษ์ดี เพราะเมื่อวานได้เริ่มติวกับอดัมสามสิบนาทีใช่ไหมครับ ตอนแรกกะว่าจะเปิดดูคลาสอนิเมตอดัมให้จบก่อน แต่ก็ทันตัวเองที่พยายามจะเนียน ติดเพอร์เฟ็คอีกแล้ว ด้วยการ ส่งสเก็ตช์ซีนวิ่งหนี ตามที่เรารู้ตอนนี้ เข้าใจตอนนี้ก่อนให้อดัมก่อนเลยครับ แล้วก็ส่งให้ดูด้วยว่า requirement สตูที่เราอยากไปเป็นยังไง เสร็จแล้วค่อยเอาเวลาไปดูคลาส เรียนคลาสให้จบต่อไป (ระหว่างทำงาน ได้รีเสิร์ชซีนเออร์ซูล่าจาก Little Mermaid แล้วอยากจะ master study animated scene อีกแล้ววววครับนี่)

สรุปก็คือเสก็ตช์บอร์ดส่งไปประมาณนี้ครับ ตอนแรกมีอีกสองไอเดีย แต่รู้สึกว่ามันได้ใช้งานริกน้อยไปหน่อย เลยลองใหม่ครับ พยายามดูริกของรีลที่เห็นของศิลปินคนอื่นๆในยูทูบด้วยประกอบครับ

10pm มาอัพเดทหน่อย งานคัทเอาต์ของไมค์ ทำการบ้านให้เสร็จ แม้วันนี้จะไม่ได้มีเรียนครับ จะได้ไปทำอดัมคลาสต่อสบายใจในส่วนคลาสอนิเมตครับ สิ่งที่ผมไม่ชอบในงานนี้คือ ผมต้องคอยจัด deformer ที่หาง แล้วก็คีย์ที่ทุกเฟรมเลย ผมว่า

  1. ทำไมต้อง on 1’s ด้วย อันนี้มากไป ผมไม่โอเค ถ้าเป็นงานตัวเองก็คงไม่คิดว่าจะต้อง on 1’s ขนาดนี้

  2. จริงๆน่าจะให้โปรแกรมตั้งลูกให้ก่อน แล้วเรามาปรับทิศทางปลายหางก็ยังดี อันนี้คือต้องมาหยิบจับหมดเลย มันเสียเวลามาก handdrawn ยังจะเร็วเสียกว่า ตรงนี้สำคัญมากนะครับ เพราะมันคือเหตุผลที่เราทำ cut out แต่ต้น คือช่วยเซฟเวลาการทำงานจากการวาดมือที่ละเฟรมจริงไหม (ก็ใช่ ถึงแม้จะไม่ต้องมาคอยคลีนเส้น ลงสี แต่มันก็เสียเวลาเหมือนกัน) ผมว่าเพราะว่าเราไม่ได้มีการเชื่อมเพ็คด้วยแหล่ะ ใช่ เลยทำให้เสียเวลาต้องมาขยับจุดต่อของหาง เห้อ แล้วก็

  3. ยัง pivot ไม่ดีไปทำท่าไหน ทำให้ตรงกลางๆ pivot เละไปหมด เดี๋ยวต้องทวนจากอดัมแล้วก็ Oli Putland แล้วก็ทำไม้หัวคัทเอาต์อีกเยอะๆๆๆๆๆๆ โอเคนะ ไปทำส่วนแขนต่อได้แล้วบายๆ สู้ๆ

11:40pm เสร็จแล้วครับ คลาสวีคสองการบ้านคัทเอาต์ของไมค์ ได้ฝึกต่อแขนอีกครั้ง มีความรู้ใหม่เช่นลูกศรแดงไว้หยิบสีเดียวกันได้ครับ สะดวกดี แล้วก็เหมือนว่าลากเพ็คพร้อมกันหลายโหนดแล้วจะตั้ง pivot ไปพร้อมๆกันได้ อันนี้ผมยังใช้ไม่ชัวร์เท่าไหร่

Previous
Previous

วันที่ 12: “รีลคัทเอาต์”หางานสำคัญสุด | วันนี้เน้นคัทเอาต์คลาสเบสิคให้จบ | รค.ก.อ.ม.

Next
Next

วันที่ 10: รีลหางานสำคัญสุด | การบ้านอนิเมตสอง ริกพี่ทองและเจออดัม ไปสเก็ตช์สวนลุม | ร.ก.อ.ม.