วันที่ 1: ไม้หัวโชว์ โชว์สกิลอนิเมต สำคัญสุด | MTASSS | อีก 6 วัน ส่งงานไม้หัวโชว์ EP.2
6:36am แล้วก็บล็อกก่อนเพื่อนใช่ แค่นี้เลยครับ ชีวิตผม บล็อก MTA แล้วก็ SSS เช้านี้ได้สติหลังตื่นว่า ผมควรเริ่มจากงานไม้หัวโชว์เนี่ยแหล่ะ ไม่ใช่ไปติดว่าต้องตื่นมาฝึกสกิลอนิเมตพื้นฐานเพิ่ม หรือว่าแม้กระทั่งสกิลทูนบูม เพราะมันเรียนได้ไม่จบอยู่แล้ว แล้วที่สำคัญนะ เรียนไปเท่าไหร่ ถ้าไม่เอามาใช้บ่อยๆ ไม่เอามาทำจริงๆ เราก็จะรู้ไม่จริง ไม่เข้าหัว ดังนั้น
ตั้ง ต้น ด้วย ไม้หัว โชว์ ดีแล้ว! เมื่อวานยังจะเริ่มคิดว่า เออ ริกแค่ชายเล็ก อะไรแบบนี้ เพราะเราให้เวลาเค้าน้อยไง ถ้าคิดกลับกัน เราตั้งต้นว่าเราอยาจะริกไม้หัวโชว์ทั้งเรื่อง เป็นต้น เราก็จะยิ่งได้ทำได้ลองผิดลองถูกอีกเยอะ (จะว่าไปอย่าลืมใส่ selector เพิ่มดีกว่าใช่)
เมื่อวานก็เรียนอดัมครับใช่ ต่อส่วนที่เป็น Anim Basic ได้ทวนพวกโพรเสส การ key, tween, favor ประมาณนี้ด้วย แล้วก็เน้นทำชายเล็กครับใช่
ปัญหาที่เจอหลักๆจะเป็นเรื่อง
การขึ้น drawing substitution ใหม่เนี่ยที่ทำให้บางทีตำแหน่ง pivot เคลื่อน ต้องใช้วิธีไปเริ่มที่ตำแหน่งเดิม ไม่มั่ว
กดขาด้านหลังไม่เห็น ต้องเพิ่ม selector แล้วเช้านี้
การเพิ่ม deformer ด้วย พอผมมาเพิ่มทีหลัง แล้วขยับ เฟรมเก่าๆก็ขยับไปด้วย ต้องใช้วิธี collapse แล้วก็ key frame ทั้งหมดที่เฟรมก่อนหน้า อีกทีหนึ่ง เหมือนเป็นการตรึงค่าต่างๆของเก่าไว้ก่อน ค่อยทำการดีฟอร์มในคีย์ปัจจุบันครับ
สิ่งที่ต้องทำต่อกับงานไม้หัวโชว์ (อีก 6 วันส่งงาน 29 june 8pm)
ทำริกส่วนชายเล็กจนจบ ใส่คีย์โพสเข้าไปก่อน พยายามทำให้ process เราชัดเป็นขั้นตอนจะได้ไปต่อได้ ต้องอาศัยทำบ่อยๆแหล่ะ
สลับไปทำส่วน handdrawn ได้แล้ว ด้วยการค่อยเพิ่ม key/extremes ในแต่ละช็อต (หรือซีน นะ)
สุดท้ายเลือกช็อต (หรือซีนนะ) มาอันเดียวเพื่อลง breakdown/inbetween
สุดท้ายผมว่า สีอาจจะไม่ได้ลง ไม่ว่าตัวละครหรือ background ไม่เป็นไรเลย เพราะเราต้องการฝึกอนิเมตเป็นหลักด้วยช่วงนี้ ได้เล่าแค่นี้ก็ดีมากแล้วๆๆๆครับ
การทบทวน หรือว่าไตร่ตรอง ขั้นตอนการทำอนิเมชั่น อยากจะให้แม่นกว่านี้ ต้องกลับไปทวนงานอย่างถุงแป้ง ที่ซิมเปิ้ลขึ้น จะได้เห็นชัดๆ รวมถึงความสัมพันธ์ posing - timing - spacing ตรงนี้ครับ อนิเมชั่นต้องรู้จักขั้นตอนแล้วก็การ break it down จริงๆ ไม่งั้นมันจะรู้สึกหลงทาง ท่วมท้น ซับซ้อน ไปไม่ถูกครับ
สรุปอีกทีนะ เน้นทำไม้หัวโชว์สำคัญสุด ค่อยสลับมาเปิดดูอดัม เอาไปใช้ในงานเรา ทั้งการอนิเมต การริก ให้เราทำงานได้ดีขึ้น ได้ง่ายขึ้น ได้เจ๋งขึ้น ได้สนุกขึ้น! ให้เห็นความเป็นไปได้เพิ่มแหล่ะใช่ รวมถึง การทวน พื้นฐานอนิเมตจาก Nancy, Mike, Richard, White ด้วย แต่อย่ากลับกันคือเรียนไปก่อนค่อยทำ มันจะไม่จบ แล้วก็สะสาง สตัดดี้ สเก๊ตช์ครับ โอเควันนี้เท่านี้แหล่ะ ไปละบาย มีงานไม้หัวล่าสุดให้ดูก็จบละ
อ่ะๆๆ ขอลงงานที่เรียนกับอดัมไว้ด้วยก็ได้ครับเอาไว้อ้างอิงว่าเรียนฝึกอะไรด้วยก็ใช่ครับ อันนี้คือเรื่อง lip sync ครับใช่ ก็พยายามทำตาม Adam Oliver เค้าเลยครับ อันนี้ริกของเค้านะ มีเรื่องที่เรียนรู้คือ
เค้าบอกว่าให้เริ่มคีย์ปากที่ประมาณสองเฟรมก่อนได้ยินเสียงสระออกมาครับ (ถ้าผมเข้าใจถูกอ่ะนะ)
แล้วก็ อย่างพยางค์ว่า Din ‘ner’ ตรงนี้ ปากจะเป็นกลมๆ ก็แปลกดี สุดท้ายอาจจะต้องอาศัยดูงานจากคนอื่นด้วย เพราะตัวผมเองตอนแรกก็ไม่คิดถึงรูปปากนี้เลยครับ แต่พอดูของเค้า เออ มันดูเข้ากับเสียงดี
สังเกตอีกอย่างคือการทำ cushining ให้การเปลี่ยนแปลงมัน soft ลง เนียนขึ้นครับ ซึ่งบางทีเราไม่เห็นหรอก แต่เรา รู้สึก ได้ ใช่ๆ ตรงนี้ ก็เป็นอีกอย่างที่ผมอาจจะละเลยไป
อดัมมีสรุปบทสามของ basic anim ด้วยว่า ให้ค่อยๆ break it down จากใหญ่ไปเล็ก
shape รวมก่อน
ไปที่หน้า
ไปที่ตา
ไปที่ lip sync ที่ปาก
ไปที่การ ease lip sync
ไปที่การ accent eyebrows ประมาณนี้ครับ
ส่วนอันนี้เป็นวีคสี่ที่เริ่มล่าสุดครับ เหมือนจะได้ทบทวนการ animation full body action น่ะครับ ก็เริ่มจากการขึ้น rough ก่อน อันนี้จะให้ตัวละครวิ่งครับ อันนี้ก็เป็นริกจากอดัม โอลิเวอร์นะครับ ผมยังไม่กล้าด้นสดเท่าไหร่เวลาขึ้นรัฟ นี่ก็เปิดดูโพยเป็นเรฟจาก ริชาร์ด วิลเลียมส์อยู่ครับ แล้วก็ต้องเขียน สเต็ปไว้ด้วย ไม่งั้นมันสับสนน่ะ
ป.ล. มีเรียน เรื่อง camera angle สนุกๆทางยูทูบด้วยครับ