วันที่ 2: TAR สำคัญสุด | ต่อด้วย ANM | แล้วจึงเป็น MSSS | เหลืออีก 7 วัน ส่งไม้หัวโชว์ EP.2

7:01am เมื่อวานก็หลักๆก็สองอย่างครับ ทูนบูมอนิเมต กับริก แล้วก็เอามาใช้กับไม้หัวโชว์ครับ ตอนที่ได้ลงมือทำงานตัวเองจริงๆ มันดีมาก มันเห็นปัญหาแล้วก็ทำให้สิ่งที่เรียนมันเข้าหัว คือเราต้องพาตัวเองไปเจอปัญหาก่อน ถึงจะแก้ปัญหาเป็น แล้วเกิดความเข้าใจในความรู้นั้นๆจริงๆครับ

อันนี้ช่วงเช้าบ่ายตอนแรก ตัวเองคิดเยอะว่า อาจจะต้องรื้อเป้าหมายใหม่หมด คือเน้น toon boom animate สำคัญสุดพอไหมเลยกลับไปหาคลาสเบสิคของอดัมครับ แต่ทำไปทำมา ทำไม้หัวโชว์ด้วย จนตกค่ำ ก็ได้ว่า ไม่อ่ะ ผมก็ต้องเข้าใจ rigging ด้วยอยู่ดี เพื่อที่จะเข้าใจที่มาที่ไปครับ แต่ก็ใช่ว่าไม่ต้องเชี่ยวชาญหรือเก่งริกเท่าอนิเมตหรอกประมาณนั้น อันนี้วิดิโอซ้ายเปิดมาทวนหน่อยครับ จริงๆช่วงนี้ก็เป็นเรื่องความเข้าใจการใช้งาน set motion keyframe แล้วก็การ favor เฟรม อดัมเค้าจะมีขั้นตอนของเค้าอยู่ บางทีก็ใช้การเลื่อนเฟรม บางทีก็เพิ่มคีย์ รวมถึงบางทีเค้าก็ใส่ value เข้าไปให้เกิด favoring เท่าไหร่ๆ พวกนี้ ผมว่าผมต้องอาศัยทำเองเยอะๆ แล้วก็ยึดหลักตามการอนิเมตนั่นแหล่ะ ดีกว่า คือถ้าผมไปทำตามเยอะๆ มันเครียด คือเราเห็นเป็นรายละเอียดปลีกย่อยแล้วไง คือเราเอาว่าเราเข้าใจแก่นดีกว่า แล้วไปปรับใช้ของเราเองครับ เช่น จังหวะที่ตัวละครหันหน้าออก ก็ให้ค่อยๆหันออก แล้วก็ไปค่อยๆจบที่โพสต่อไป อะไรแบบนี้ เราต้องเข้าใจ requirement ตรงนี้ก่อน แล้วทีนี้ ต้องไปกดตรงไหน เดี๋ยวมันก็หาทางจนได้เอง (ที่มาของ สสค สองใหญ่อนิเมต ทวนกับ แนนซี่ ไมค์ แล้วก็ริชาร์ดครับ)

ส่วนอดัมเรียนริกก็มีเรียนรู้การทำ selector เพิ่มมาครับ กับริก Jada ของ Adam Oliver ยังอยากจะทบทวนให้แม่นเรื่อง การเตรียม patching สำหรับชิ้นส่วนแขนแล้วก็ลำตัวครับ ต้องทำอีกบ่อยๆ

ต่อมาก็ส่วนงานไม้หัวโชว์ครับ ก็จริงๆหลักๆก็ adjust timing ทั้งหมดอีกทีครับ โดยเฉพาะส่วนชายเล็ก แล้วก็ส่วนตอนท้ายๆล่ะมั้งครับ นึกถึงงานถุงแป้งข้ามผาเข้าไว้ เวลาเจอความซับซ้อน ทำไปทีละสเต็ป นี่จริงๆอย่าให้พูดว่า ผมก็ไม่เห็นได้ใช้ timing chart เลยนะ! เอาว่านั่นแหล่ะ ในการทำงานจริงผมก็ไม่รู้ มันจำเป็นขนาดนั้นไหมในปัจจุบัน ต้องลองไปทำงานสตูครับ แล้วก็ความสัมพันธ์ posing - timing - spacing ครับ ท่องไว้ๆ จะได้มีหลักยึดวัดสัก!

สิ่งที่เรียนรู้หลังจากการทำไม้หัวโชว์

  • มีทวนเรื่องการใช้ overlay for hand holding props ยังเข้าใจเองว่า แต่ละมือก็จะมี overlay layer ตรงนี้ตัวเองแตกต่างกันประมาณนั้นไหมนะ

  • ยังมีติดเรื่องการใช้ pivot อยู่ เวลาวาดมือชิ้นใหม่ แล้วเหมือนเราต้องวาดที่ตำแหน่ง pivot เดิมของมือเก่าหรือเปล่านะ เพราะว่าถ้าเราวาดหลุดที่ไป แล้วเรา adjust pivot มันทำให้ pivot ที่คีย์เฟรมอื่นเสียหมดเลย ตรงนี้เลยยังงงๆ

ส่วนเรื่องเรียนมีเปิดอ่าน Nancy เรื่อง Dialogue Animation ทำให้เข้าใจว่า เน้นการแสดงมาก่อน ให้ปากเป็น secondary action ผมเลยเกิดไอเดียว่าเดี๋ยวให้ชายเล็กทำท่าลำไยดีกว่าเป็นต้น

ตอนนี้เรื่องเรียนจะเป็นการฝึกอนิเมตเป็นหลักครับ เว้นว่าถ้าเบื่อหรือเครียด ต้องการความแปลกใหม่ ค่อยไปหาเปิดเรียนเรื่องการเล่าเรื่องไม่ก็การวาดเอาครับแบบนั้นดีกว่า เพราะตอนนี้ที่สำคัญสุดคือ

  1. TAR ก็คือสกิลทูนบูม อนิเมต ซึ่งมันก็จะเชื่อมโยงไปหาความรู้ริกด้วยครับ

  2. ANM ก็คือสกิลอนิเมต ก็คือพื้นฐานต้องทบทวนเสมอ ก็ไปตามบทเรียน แบบฝึกของ Nancy, Mike, Richard สามคนนี้เป็นหลักพอครับ อย่าเยอะ ออ ขออีกคน แหะๆ ฝึกตามหนังสือของ Tony White อาจารย์อีกคนด้วยครับ

  3. MSSS เรื่องต่อมาก็เรียงลำกับกันมาครับ การลงสนามจริงด้วยไม้หัวโชว์ สะสาง การสตัดดี้ แล้วก็สเก็ตช์ครับ

ป.ล. ไม้หัวโชว์ EP.4 นี่ต้องเน้นเอาคัทเอาต์อนิเมชั่นมาใช้กับไม้หัวเยอะขึ้นๆเรื่อยๆครับ จะได้เจอปัญหาบ่อยๆ

จบละ บล็อกไปประมาณ 26 นาทีครับ มีความคิดแปลกปลอมให้หลงติดอีกแล้ว เห้อๆๆๆ ช่างมันปะไรเล่า! เดี๋ยวก็มีความคิดใหม่ที่น่าสนใจกว่ามาน่า!!! บาย ขอให้วันนี้คุณสมองปรอดโปร่งโล่งสบายครับ สวัสดี

Previous
Previous

วันที่ 1: ไม้หัวโชว์ โชว์สกิลอนิเมต สำคัญสุด | MTASSS | อีก 6 วัน ส่งงานไม้หัวโชว์ EP.2

Next
Next

วันที่ 1: TA สำคัญสุด | ต่อด้วย TR | แล้วจึงเป็น MSSS