วันที่ 4: ไม้หัวโชว์ ด้วย ทูนบูม คัทเอาต์และแฮนดรอน สำคัญที่สุด - “MASSS”
2:39pm สวัสดีครับ วันนี้เริ่มฟินกับการสเก๊ตช์การวาดอีกครั้ง ตั้งแต่ที่เริ่มหยิบจับเล่ม Peter Parrr มาหรือว่าเริ่มสเก๊ตช์เป็นฉากมากขึ้น หรือว่าล่าสุดกลับไปดูคลาส Dynamic Drawing จาก Conner Willumsen ครับ คิดว่าอยากจะพก แล้วก็วาดให้สกบ เล่มเล็กมากขึ้น เพื่อจะได้เชื่อมสิ่งต่างๆเข้าหากัน ผมว่ามันน่าจะเวิร์คตรงนี้ครับ แต่ก็นั่นแหล่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องสลับทำอย่างอื่นด้วย เช่น การบ้าน SAO หรือว่า อย่างหลักแน่นอนคือ ไม้หัวโชว์ (ชายกลางตอนปัจจุบัน กับการเตรียมพรีโพรกับแนนซี่) กับ ทูนบูมเรียนกับอดัมครับ ออ เมื่อวานอ่าน Francis Glebas ด้วยครับ เรื่องของการเล่าเรื่องใช่ คิดว่าตอนที่ 4 น่าจะเป็นตอนที่ผมจะโฟกัสที่การเล่าเรื่องจริงๆ คือต้องหยิบจับสักเรื่องของหนังสือที่อ่าน มาเป็นเช็คลิสต์ แล้วใช้ คือจะปล่อยให้มันเนียนๆลอยๆไม่ได้ มันก็จะไม่ได้เกิด deliberate learning ครับตรงนี้ รวมถึงอยากจะมาสเตอร์สตั๊ดดี้สตรบแล้วมาปรับใช้ในแบบเราด้วย (อารมณ์เหมือนตอนนี้ที่ดัดแปลงสคริปต์จากสตาร์วอร์สในการบ้าน SAO เป็นไม้หัวแทนประมาณนั้น) เพื่อค่อยๆเชื่อมสะพานจากงานมาสเตอร์ให้กลายเป็นงานออริจินัลของตัวเองให้ได้ท้ายที่สุดครับ
ทีนี้อัพเดทอะไรดีนะ ก็งานสตรบครับ เมื่อวานทำเพิ่มไปได้ประมาณนี้ครับ วันนี้อยากจะต้องเอาให้จบให้ได้ๆๆๆ ครั้งนี้ที่วาดคือเริ่มจับเวลารายแพเนลช่วงแรก กันตัวเองคิดมาก หรือว่า explore ไม่จบครับ เป็นแพเนลละสามนาทีประมาณครับ ก็พอได้อยู่ หลังๆก็เริ่มเข้าโฟลว์จนเลยเถิดเหมือนกัน
ป.ล. (ของสตรบ) อยากจะมาสเตอร์สตัดสตรบจากหนัง จากการ์ตูนจังครับไม่ได้ทำนานแล้วตั้งแต่ตอนวีแบแบใช่ อยากจะลองหยิบ sequence สั้นๆ ไม่ก็จบ ep ไปเลย มาลองทำความเข้าใจ การเล่าเรื่อง การเลือกมุมกล้อง ทิศยังไง ระยะยังไง แล้วทำไมเค้าเลือกแบบนั้น เอามาวิเคราะห์ อยากสตั๊ดจากเล่ม Francis Glebas ด้วย ส่วนการ์ตูน ก็เลือกที่เราเอนจอยช่วงนี้อย่าง Frog & Toad, Mecha Builders, Snoopy Show อะไรแบบนี้ครับ เป็นไอเดียเอาไว้ทำ EP 4 เลยน่ะครับ จริงๆตอนสามผมก็แบบ ลักไก่ ลักขั้นตอนคือไม่ได้ดู หรือสตัดดี้จากสตอร์วอร์สเท่าไหร่ มีเปิดเร็วๆแหล่ะ ตอนนั้นไปศึกษาดูการออกแบบดวงดาวที่มีต้นไม้นานาพันธุ์น่ะครับ จริงๆก็เอาไว้เป็น second pass ได้ครับ ใช่ๆ ก็บอกตัวเองอยู่แหล่ะตอนนั้น ว่าอยากจะเริ่มพาสแรกด้วยการ เอาออกมาจากหัวอย่างเดียวก่อนเลย อืมก็ดีแล้วนี่นะใช่ มันควรจะเริ่มแบบนั้นก่อน แล้วเราถึงค่อยไปสเต็ปไปเปิดดูว่าคนอื่นเค้าทำยังไง แล้วค่อยมาปรับใช่ๆ (เหมือนที่ไมค์เล่าว่า เดี๋ยวเรียนอนิเมตการทำซีนสนทนา ขั้นแรก เราจะนึกโพสตามที่เรานึกออกไปก่อน แล้วถึงค่อยไป act it out ถ่ายภาพตัวเอง ตามโจทย์นั้น มันก็คงคือๆกันครับ เป็น วงจรการทำงานสร้างสรรค์)
ส่วนอันนี้เป็นงานที่เริ่มกลับมาเรียนตามเลคเชอร์ของคอนเนอร์วีคสองครับ ยังคงเป็นการฝึกวาดจาก silgouette เข้ามาข้างในครับ ก็ดีนะ มันทำให้เรามอง shape ไม่เหมือนเดิม หลุดจาก ไอเดีย นามธรรม ที่ว่า ของอย่างนี้ต้องหน้าตาอย่างนี้อย่างนั้น ผมว่าถ้าพูดในเรื่องอนิเมชั่น มันน่าจะได้เอาไปใช้ในแง่ของการจบภาพ การใช้ลายเส้น การปรับ silhouette ให้เห็นแล้วเข้าใจหรือว่าน่าสนใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมว่า ในฐานะอนิเมเตอร์ การเข้าใจ form ก็ยังสำคัญมาก ก็เลยทำให้คอยบอกตัวเองให้เรียนจาก kenzo แล้วก็ marc brunet ด้วยครับ แล้วก็ต้องกลับไปทวนสิ่งที่เรียนกับ mike wiesmeier ด้วยครับ ทั้ง figure sketching and animation 1 รวมถึงเล่มของ tomfoxdraw and preston blair ด้วย เอาว่า ไม่ลืมเรื่อง construction, หรือที่ Jeff เคยสอนไว้
แล้วก็เมื่อวานมันเสี้ยนคือมา อยากจะวาด perspective, background อีกน่ะครับ ก็เลยจังหวะที่ชายเล็กขยายยักษ์มาเยี่ยมห้องครับ (เค้าบอกผมว่า เค้าแค่กินน้ำเยอะๆ ตัวก็ใหญ่ขึ้นแล้ว ผมไม่รู้ว่าเค้าพูดทีเล่นทีจริงครับ) นี่เลยทำให้ผมอยากจะวาดมุมต่างๆจากห้องเนี่ยแหล่ะ เอาฟระ ไม่ต้องเล่นยาก หามุม ตรง เงย ก้ม ใกล้ไกล สร้างจำลองขึ้นมาเอง แล้วก็ส่งจิตไปเรียกไม้หัวมาจากบ้านพี่งอท ยืมตัวมาเป็นนายแบบนางแบบในซีนสักหน่อย แบบนี้ก็ดีไม่เลวครับ (ดีหรือเลวน่ะ!!!)
G C A T!!! = Gesture - Construction - Anatomy - Technique (ตอนนั้นอันหลังสุดก็คือหมายถึง การดีไซน์ออกแบบในเชิงสองมิติเช่น straight against curve, การเล่นสายเส้น แล้วก็น่าจะหมายถึง การใช้โปรแกรมเช่น ทูนบูม มาทำงานประเภท cut out ด้วย เอาว่ามันคือส่วนของเปลือกนั่นเอง ที่จะ present สู่คนดูครับ)