วันที่ 65 ของการตามล่าฝัน: รีลอนิเมตคัทเอาต์สำคัญสุด

4:24pm หรือว่าจะต้องผ่อนลง บล็อกทุกวันเว้นวันก็น่าสนใจเหมือนกันแหะครับ เอาว่าเหลือหกนาที มาอัพเดทตามสามโหนดหลักคือ

  1. รีลหางาน สี่รีล (แล้วก็อีกโปรเจคคือ หกเมนคาร์ ตามสี่คลาสอดัมด้วย) ล่าสุดมีอัพเดทจากอดัม ชายกลาง ประมาณนี้ครับ แล้วก็สี่คลาสอดัมไปเปิดคลาสริกเบสิคทำหญิงเล้กคนต่อ (เกือบลืมไปแล้ว ขอโทษคะเล้ก)

  2. ไม้หัวโชว์ ล่าสุดแก้คร่าวๆทำให้ช็อตง่ายขึ้นแล้วครับ สำหรับชั้นตอน STP, ETP ช็อตแรกที่เป็นสี่ตัวละคร ได้ตกตะกอนว่า จะทำผสมผสานคือ ใช้การวาดช่วงแรก thumbnails, sketches, STP, ETP, breakdowns แล้วพอขั้นตอน inbetween ตรงนี้ถึงค่อยใช้ความรู้ ริก คัทเอาต์มาช่วยครับ เพื่อให้อนิเมชั่นเนียน คงมวลได้ด้วย ต้องวางแผน วันนี้กะจะทำให้จบ breakdown แล้วกันครับก่อนในช็อตแรก ต้องวางแผนจากใหญ่มาเล็ก จะได้รู้สึกว่าจบได้ ใช่ ไม่งั้นมันจะทำแล้วท้อว่า เมื่อไหร่จบ เพราะเราทำจากเล็กไปใหญ่ไง เข้าใจละ

  3. อื่นๆ ก็อย่าง งานมหคจบดปต ครับ แล้วก็งานมาสเตอร์สตัดดี้ วันนี้สตั๊ดจาก Tangled ครับตอนเช้า ลองดูซีนที่มีสามตัวละครด้วยกันครับอืม เค้าเรียงลำดับ timing ยังไง ไม่ให้คนดูงงกับการโฟกัสครับ ออ แล้วเมื่อวานก็อ่านจากหนังสือ Nancy ด้วยเกี่ยวกับ Primary, Secondary action เนี่ย เพราะอ่านอย่างเดียวก็ได้แหล่ะ แต่ว่ามันไม่รู้สึกว่า เข้าใจถึงกึ๋นเท่าไหร่ ครั้งหน้าขออ่านแล้วช่วยทำตามด้วย!!!! อย่างน้อยครั้งนี้จดออกมาสามอย่างที่เรียนรู้แล้วกัน เอาไว้ท่องในใจได้ ก็คงเป็นประโยชน์เช่นกันครับ ออ แล้วสุดท้ายก็การบ้านวาดสัตว์ คลาสเกือบสุดท้ายของ Syn Studio ที่เรียนครับ

อย่างแรกก็รีลอดัมครับ วันนี้เจออดัมสี่ทุ่มด้วย เหลือทำเมฆต่อ กะจะทำเป็น hand-drawn ครับ

ต่อมาเป็นซีนจากชายกลางหนีฝนครับ เจอไมค์อีกทีพรุ่งนี้ตอนดึกครับ

ถัดมาส่วนสุดท้ายของรีลหางานก็คืองานแบบฝึกจากคลาสบนออนไลน์ของ Adam Oliver ครับ กับ การริกแขนให้หญิงเล้กคนครับ จุดที่น่าสนใจก็คือว่า เค้าแบ่ง ส่วนนิ้วโป้งของ ถึงมือออกมาด้วยแล้วก็ให้มี deformer แยกส่วนตัวครับ ก็คือการแยกชิ้นส่วนแหล่ะครับ ไว้มีเวลาก็ลองเอาไปใช้งานตัวเอง แบ่งงานเป็นชิ้นๆๆๆ น่าจะทำให้ manipulate (or deform!) ได้สวยงามเป็นธรรมชาติขึ้น ละเอียดขึ้นครับ

ต่อมาหัวข้อสองใหญ่ งานไม้หัวโชว์ ล่าสุดได้ช็อตแรกที่เป็นตัวละครมาประมาณนี้ครับ ผม simplify ลงไปเยอะ ตั้งแต่แอคชั่นของ หญิงเล้ก ชายกลาง คือพยายาม follow จาก STP ที่วาง timing ไว้แต่แรกครับ คือขั้นตอน ETP มันต้องเป็นการเกลาลงไปข้างล่าง ไม่ใช่ขยายออกจน timing รวมเสียหมด แบบนี้ไม่จบครับ อืมๆ แล้วก็ ผมยังปรับให้ไฟล์เสียงง่ายขึ้นด้วยคือมีแค่หญิงเล้กที่อุทานออกมาครับ ขั้นต่อไปคงจะคอนเฟิร์ม ETP รอบสุดท้ายก่อนจะหา breakdown แล้วถึงค่อยทำ time chart แล้วก็เริ่มริกตัวละคร แล้วค่อย inbetween ครับ ทำไปก่อน ว่าช็อตนี้ จะใช้เวลาเท่าไหร่ พอได้เล็กมาใหญ่ ค่อยวางแผนใหญ่มาเล็กอีกทีว่า ทั้งหมดตอน จะใช้กี่วันเป็นต้นครับอืม

หัวข้อสามอื่นๆ ก็เริ่มด้วยงานมหคจบดปตครับ ได้เริ่มฝึกริกตัวละครบ่อยๆขึ้นครับ กับทั้ง หอยทากแล้วก็เพื่อนเป็ดครับ ไม่ลืมที่จะทำ character profile ก่อนด้วยครับ สำหรับริกเพื่อนเป็ด ทำแบบเร่งรีบมาก สิ่งที่เรียนรู้อย่างนึงคือการใช้ prop ครับ ถ้ามีเวลาก็อยากทบทวนตรงนี้ครับ เริ่มใช้เทคนิกการขยับกรอบ peg ตามอดัมเพื่อเป็นการขยับแบบง่ายๆ ในกรณีที่จุดนั้นไม่ใช่จุดที่สำคัญที่สุดครับ เพื่อเซฟเวลา! ไม่ลืมที่จะหา breakdown ก่อนด้วยตามที่เรียนมากับไมค์ครับ แล้วก็ครั้งหน้าถ้ามีเวลาไม่ลืมก็อยากจะเริ่ม save eye settings เป็น template ไว้ด้วยไม่ให้เสียเวลาครับ ต่อไปจะได้ทำงานเร็วขึ้น เย้เย ส่วนงานหอยทากก็ได้ริกตาอีกทีด้วยครับ อ่าเค

ต่อมาก็งานมาสเตอร์สตั๊ด (ที่หลังจากนี้จะต้องสตั๊ดจาก live-action acting scenes too วะฮ่า!) จากเรื่อง Tangled ที่เป็น Original Movie on Disney Channel ครับ

ต่อมาเป็นสามอย่างที่เรียนรู้จากการอ่าน Nancy Beiman Animated Performance ครับ

  1. “You might even add an anticipatory drawing or two before a breakdown.” คือตอนนี้ผมเริ่มจะเข้าใจอีกทีว่า antic ก็คือ key ประเภทหนึ่ง คือต้องมีช่วงเวลาให้เค้า s.in or s.out จากเค้าเป็นต้นเหมือนกันครับ ตามแนนซี่ก็คือ โพส ไป โพส มีเบรคดาวน์ แอนทิกเพิ่มเข้ามาหลังจากนั้น ส่วนมากทิศตรงข้าม บีดี เพื่อสร้าง น้ำหนัก ครับประมาณนั้น

  2. ต่อมาเป็นส่วนที่แนนซี่พูดถึง thumbnailing ครับ “Your goal when thumbnailing a scene is to ‘explore’ different ways of ‘performing the action’ to create the best ‘feel’ of ‘artistic interpretation’, of ‘an action’ rather than to literally copy an existing movement. น่าสนใจมาก ก็คือตัมเนลเพื่อหา การวาดแบบต่างๆ เพื่อจะแสดงเรื่องราวออกมา ประมาณนั้นครับ

  3. อีกตรงที่น่าสนใจคือเรื่องของ primary - secondary action ครับ แนนซี่ยกตัวอย่าง ตัวละครที่กระโดด แล้วมือก็แกว่งไปด้วย จากนั้น ให้เธอใส่กระโปรง แล้วก็ถือพู่เชียร์ด้วย ประมาณนี้ครับ (ถ้ามีเวลาก็ต้องลองอนิเมต) น่าสนใจตรงที่คล้ายกับไมค์บอกก็คือว่า อยากให้ใส่ follow-through แล้วก็ overlap หลังสุดครับ ตัวกับขาก่อน แล้วไป แขน แล้วไป กระโปรง พู่ ผม ประมาณนี้ครับ

สุดท้ายจริงๆแล้วก็คือการบ้านวาดสัตว์ครับ ที่เมื่อวานผมตื่นไม่ไหว สลบเหมือด เป็นการศึกษาการลง value จากงานวาดของ Heinrich Kley ศิลปินที่ Walt Disney ชื่นชมแล้วก็ให้ศิลปินของเค้าศึกษาด้วยครับประมาณนั้นนะ

Previous
Previous

วันที่ 71 ของการตามล่าฝัน: รีลอนิเมตคัทเอาต์สำคัญสุด

Next
Next

วันที่ 63 ของการตามล่าฝัน: รีลอนิเมตคัทเอาต์สำคัญสุด