วันที่ 73: AMMD + PS
11:53am เย่! ได้ทำงานทูนบูมครึ่งชั่วโมงก่อนเที่ยง ดีมากครับ หลังจากนี้อยากสร้างรูทีนการฝึกวาดจาก Heinrich Kley / Marc Davis / Walt Stanchfield / Mark Wiesmeier ด้วยครับอืม
เมื่อวานวันจันทร์ เป็นวันทำการบ้านไมค์ (แล้วก็บวกหนึ่งเสมอ คือ ทบ อดัมครับ) ซึ่งก็ทำจบไป ไม่ใช้เวลามาก ตั้งแต่บ่ายมั้งนะ ศึกษาเรื่อง value แล้วก็เรียนคลาสตอนเที่ยงคืนครับ ได้ฟีดแบกแล้วก็เลคเชอร์ประมาณนี้ครับ โดยรวมคือ ผมต้อง squint eye มากกว่านี้แล้วก็ ระวังการใช้สีดำกับขาว คือ บางที oversimplify เกินไป จริงๆแสงเงาที่เห็นไม่ได้สว่างหรือมืดขนาดนั้น เมื่อมองจากภาพรวมทั้งหมด มันเพราะเราไปมองเป็นจุดๆเกินไป ใช่ๆ ต้องซูมออกด้วยนั่นเองแล้วก็ ได้เน้นย้ำเรื่อง atmospheric perspective ตรงนี้ชอบมาก คือ เรื่องของ foreground - middle ground - background ที่ว่า foreground จะเน้นให้มี contrast เยอะหน่อย แสงกับเงาจะต่างกันมาก ตัดกันชัดเจน ทำให้ตาเราไปมองจุดๆนั้น เอาไว้ใช้ออกแบบ viewer’s eyes ได้ครับ ว่าต้องการให้เค้ามองตรงไหน อันนี้อีกเรื่องด้วยนะ คือได้เตือนตัวเองอีกทีว่า เราไม่ได้แค่วาดตามที่เห็น แต่เราวาดตามที่เรา อยากเห็น หรืออยากให้คนดูเห็นใช่ คือผมไม่ค่อยได้สวมหมวกนักออกแบบ เท่าไหร่ ที่ผ่านมา ก็วาดไปทื่อๆแบบนั้นใช่ คือต้องแยกหมวก ถ้าจะวาดทื่อๆ มันคือหมวกของนักสังเกต นักบันทึก คือของจริงเป็นยังไง ศึกษา ใช่ แต่อันนี้เราลองใส่หมวกของ นักออกแบบดูด้วย ว่าเราเห็น แล้วเราจะแต่งเติมลดทอน ดัดแปลงยังไง ให้มันได้ตามที่เราต้องการ ใช่ๆครับ ฝึกให้ตัวเองได้ตัดสินใจ ได้คิด ได้เลือก นั่นเอง เพื่อจะได้เอาไปใช้ เล่าเรื่องด้วย ไม่งั้น งานเราก็จะเป็นลักษณะของ โลกพาไป ไม่ได้ เราเป็นศิลปิน เราต้องคุมเกมเองครับใช่ ตรงนี้เพิ่งจะได้เข้าใจ ก็ต้องฟังไมค์เรื่อยๆครับ แล้วก็ไมค์ยกตัวเอย่างงานของ marc davis แล้วผมชอบมากกกกกกกก TT นี่เลยคิดว่า อยากศึกษาสี่ศิลปินตามที่เขียนข้างต้นต่อไปทุกๆวันครับ ต้องค่อยๆเริ่ม แล้วก็คิดว่าเริ่มจากการวาดเนี่ยแหล่ะ ดีที่สุด ค่อยขยับไปอนิเมตใช่ เมื่อวานเลคเชอร์ประมาณนี้ครับ
การบ้านสุดท้ายจะเป็นการวาดศึกษาจาก Heinrich Kley ครับ เป็นศิลปินเยอรมันที่ วอล์ต ดิสนีย์ ไปเจองานเข้าตอนไปริเสิร์ชงานที่ยุโรป แล้วก็ซื้องานมาให้ศิลปินของดิสนีย์ศึกษากันครับ ผมชอบมากกกกกกก เช่นกัน คือเค้าวาดหลุดๆ จินตนาการมากครับ แล้วก็มีสามอย่างที่ไมค์สอนเลยคือ
Gesture (Looseness!)
2D Design (Contrast!)
3D Solidity (Believability!)
ผมขอย่อว่า G23 แล้วกัน เป็นสูตรของไมค์ที่เรียนมาครับ
ส่วนเช้านี้ ที่บอกว่าเรียนอดัม จริงๆวันอังคารเรียนแดนครับ ทบ เหมือนกัน แต่วันนี้วันสุดท้ายแล้ว ยังไงก็ขอเรียนอดัมก่อน ตอนก่อนเจอแดน ก็เลยได้ทำการบ้านวีคแรกของอนิเมตแอดวานซ์เสร็จ เย้เย เป็นการส่ง key poses ของ แฟรงกี้ ริกของอดัมครับ ก็ลองจับ ดัด มั่วๆแหล่ะครับ ตามข้อต่อต่างๆ ใช้ deformer บ้าง ใช้ drawing substitution บ้าง ใช้ master controller บ้าง ยังอยากลองวาดเพิ่มเติมเช่นมือตามที่คิด แต่ว่ายังไม่ได้ลองครับ แล้วก็ พอจะส่ง ก็ได้ฝึกเอา peg มา กระจายออกเพื่อหา timing ครับ ก็ได้ทบทวน animation process อีกครั้ง เหมือนที่เรียนไปล่าสุดกับไมค์กับถุงแป้งครับ แต่อันนี้ยังไม่ได้ลง spacing เป็นการสร้าง pose_test นั่นแหล่ะครับ ก็คือ
posing -> timing ก่อนครับ ยังไม่ถึง spacing ประมาณนี้ โอเคไปก่อนบาย
อ้อ ป.ล. ลืมอวยลืมเล่า ไมค์เจ๋งมากครับ ครั้งนี้เปิดคอลมา อยู่ในสวนเลยครับ! เหมือนสวนในแคนาดาแถวบ้านเค้า เค้าอยากจะสาธิตให้เห็นว่า เราควรจะไป participate กับโลก น่ะครับ คือออกไปหาแรงบันดาลใจ เดินรอบๆรูปปั้น ก่อนจะเริ่มสเก๊ตช์ เค้าพูดเรื่องการวาดด้วย ปากกา fountain pen ด้วย แล้วก็ดินสอที่ละลายน้ำ ผมก็อยากทำ แล้วก็ ผมชอบความที่เค้าพยายามจะนึกถึง งานที่สตัดดี้ หรือศิลปินคนอื่นเสมอๆเวลาทำงาน มันดีมากครับ มันทำให้การที่เราศึกษาคนอื่น ได้ต่อยอดจริงๆ เค้าวาดคน แล้วก็ caricature นึกถึงงานของ โดมิเย่ คือเรามีแค่งานสองงานก็พอแล้วเป็นเหมือน sample ให้เรายึดเป็น พื้นฐานไว้ หรือว่าตอนพูดเรือ่ง value ก็เอางานของ โซโลม่อน ออกมา หรือว่าตอนพูดเรื่อง form and gesture ก็ดึงภาพนางแบบที่ Fred Moore เคยวาดไว้ออกมา อ้างอิงเรื่องของ flow ของ straigt and curve lines เรื่อง contrast in 2d design เรื่องของ weight การที่บริเวณก้นของนางแบบเมื่อนั่งเก้าอี้ก็รู้สึกว่านั่ง เห็นเป็นเส้นตรงตาม weight ของนางแบบ เห็นเส้นของเบาะ ให้ความรู้สึกนุ่ม เป็นต้น มันดีมากนะครับ มันสอนผมว่า ไม่ต้องอ่านหมด รู้หมด เลือกรู้แค่สองสามเรื่อง แต่ว่าดึงมาใช้ในงานตัวเอง ไม่ลืม ตรงนี้สิสำคัญกว่า โอเคบาย
1:21pm มาบล็อกเพิ่มไว้หน่อยว่า ขั้นตอนการโพส ที่เรียนอดัม เค้าสอนให้เช็ค arc ด้วยครับ แล้วก็ flow หรือว่า line of action ของตัวละคร ประมาณนี้
แล้วก็อันนี้เป็นงานของ Marc Davis ที่ไมค์เค้าศึกษาอยู่ครับ ชอบมากเลย เหมือนจะเป็น concept art ตอนที่มาร์คดีไซน์บ้านผีสิงที่ดิสนีย์แลนด์ครับ ไมค์สอนให้ลองกลับภาพบนล่างด้วย เราจะเห็นงาน abstract ขึ้นแล้วก็จะเช็คพวก value ได้ง่ายขึ้นครับ สังเกตว่า บริเวณตัวละครที่เป็น foreground สีขาวจะตัดกับดำ เป็น contrast เยอะมาก ในขณะที่ป้ายหลุมศพไกลออกไป จะมีค่าเงามืดใกล้เคียงกับท้องฟ้ายามราตรี ก็คือ contrast น้อยนั่นเอง แล้วก็ ภาพนี้ได้สังเกตการใช้ value ในเรื่องของการ connect ตัวละครหากันด้วยครับ ก็คือการใช้ value ช่วยในการวาดให้งานมีความ dynamic นั่นเอง ซึ่งจริงๆ value ช่วยหลายอย่างตามที่ไมค์ลิสต์มาประมาณด้านล่างครับ อันนี้แปะเรื่อง unity - variety ที่ไมค์สอนล่าสุดด้วยครับ เกี่ยวกับองค์ประกอบภาพที่ใช้การซ้ำ แล้วก็การสร้างความหลากหลายครับ
นี่กลับไปดูงานสเก๊ตช์ชายเล็กตัวเองก็คิดว่า น่าจะใส่เงามากขึ้น เพื่อ ground ตัวละครเข้าสู่ฉากมากกว่านี้ เป็นการใส่ น้ำหนักด้วยใช่ ยังต้องฝึกต่อไปครับ value โอเคบาย
2:48pm มาแล้วครับ ก่อนจะเรียนแดน บ่ายสามถึงห้าทุ่มยาวไป (แงงงงงงง) ขอมาลงอดัมริกแอดวานซ์นิดนึง เพราะอยากจะส่งการบ้านให้ทัน TT ตอนนี้กลับมาที่ตัวละครอดัมอีกที ผมเริ่มค่อยๆใจเย็นฝึกวาดเวกเตอร์ต่อครับ ใช้เครื่องมือ Polyline ค่อยๆวาดส่วนต่างๆ แยกไปแต่ละโหนด
อดัมสอนอีกเทคนิกครับ ตอนที่สมมติเราจะเช็คว่าแต่ละเส้นของแต่ละ element หนาเท่าไหร่ ถ้าเกิดว่าสองสิ่งนั้นเช่น ปาก กับ จมูก อยู่คนละโหนด ปกติเราก็อาจจะต้องเลือกโดยการกด transform tool เพื่อไปหาโหนดนั้นก่อน แล้วค่อยเลือกลูกศรดำ แต่ทีนี้ มีปุ่มที่ทำให้เรากด visible drawing ได้เลย ตรง tool properties ของลูกศรดำ ที่เป็นสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมซ้อนๆแล้วมีลูกศรชี้ลงครับ อันนั้นแหล่ะ พอกดแล้ว เราจะสามารถเลือกเส้นไปยัง drawing อื่นๆที่เรามองเห็นแม้ว่าจะอยู่คนละ drawing node ที่เรากำลังทำงานอยู่ครับ อืม
แล้วก็อัพเดทอีกเรื่อง รวมงานไม้หัวคอมิคอีกสองตอนลงสเก๊ตช์บุ๊ค คัดแยกลงโฟลเดอร์ตามตัวละคร สถานที่ แล้วก็เตรียมไฟล์เพื่อปริ้นท์ไว้ที่อีกโฟลเดอร์ เพิ่มอีกสอนตอนครับ ตอนชายเล็กงอนเพื่อน กับ ตอนแมวเหมดแสดงโชว์เต้นระบำใต้น้ำครับ