เมื่อวานฟินมากกับแผนล่าสุดครับ

12:55pm มันดีมากจริงๆ การที่ผมให้ตัวเองทำไม้หัวโชว์ทุกวัน ผนวกกับการฝึกฝนเรียนสกิล แล้วก็มาสเตอร์สตัดดี้ หลักๆสามอย่างในวันเดียว คือเมื่อวานถึงแม้จะได้ทำไม้หัวโชว์ หรืองานตัวเองตอนดึกแล้ว แต่แบบ มันฟินตรงที่ผมได้เอาที่เรียนมาใช้ในงาน เริ่มมีการคิดถึง squash, stretch ในงานมากขึ้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมได้กฎใหม่เอาไว้ใช้ทำงานของตัวเอง คิดได้หลังว่ายน้ำเช้านี้ครับ เจ๋งมากเลยคือ

  1. สร้างข้อจำกัด เช่น การกำหนดเวลาทำงาน ทีละสามสิบนาที การกำหนดสตอรี่บอร์ดแค่ 1 หน้า เท่าๆนี้ panel ให้จบเรื่อง กำหนดให้เขียนเรื่องราว ฟรีไรต์ออกมา ในห้านาที เป็นต้นพวกนี้ครับ

  2. การสร้าง Check List อันนี้ตื่นเต้นมาก ได้ยินมาสักพัก แต่เมื่อคืนนี้เพิ่งเริ่มคิดว่า มันสำคัญ คือเราต้องมี checklist มาแปะไว้ที่โต๊ะทำงานครับ เป็นพื้นฐาน หรือว่า หลักการ ของการสร้างงานของเรา ไม่ว่าจะเป็น animation principle or stroryboarding principle ดีนะครับ ต้องปริ้นท์มาไว้ เช่น งานเรามี medium shot หรือยัง ทำไมช็อตนี้ต้อง pov เราลืม perspective หรือเปล่า เราได้สังเกต anatomy ไหมเป็นต้น ตัวอย่างเช็คลิสต์ก็ประมาณนี้ครับ (น่าจะไปหยิบดูอีกจาก storyboardart.org เป็นต้นด้วย)

    1. animate principles

    2. storybaord princicples

    3. drawing principles

      1. gesture

      2. construction

      3. anatomy

      4. style

      5. perspective

  3. การสร้างก่อน อีดีทถัดมา อันนี้เป็นไอเดียที่ได้ตั้งแต่ตอนช่วงเรียนการเขียนครับ คือใช่เลย อย่างเมื่อวาน ถึงผมจะฟินที่เริ่ม ‘ฉุกคิด’ ถึงหลักการต่างๆของการอนิเมต ตอนที่วาดตัวเองกับหญิงเล้ก แต่ว่า ผมว่าจะดีกว่า ถ้าเกิดว่าทำให้มันเป็น Stage แยกกัน ครับ เป็นยังไงอ่ะ Version อย่างงี้ละกัน เวอร์ชั่นแรก เราจะต้องปล่อยตัวเอง flow ครับ เหมือนการเขียน freewrite ปล่อยให้ creative juice มันไหลออกมา ไม่มีการเซนเซอร์ใดๆ ให้ใจเราพาไป นำเนื้อเรื่อง สิ่งที่อยากสร้างสรรค์ เป็นตัวเราจริงๆ ห่วยๆ โง่ๆ ง่ายๆ ที่เราคิดได้เนี่ยแหล่ะ ครับ อันนี้คือ “เวอร์ชั่นดิบ” เวอร์ชั่นแรก จากนั้น เราค่อยหยิบงานเรา มาทำ “เวอร์ชั่นประดิษฐ์” ด้วยการสวมหมวกให้ตัวเองเป็นเหมือน บรรณาธิการ งานหนังสือ คือเริ่มตรวจครับ ว่า งานตรงนี้ของเรา แก้ไขยังไงให้ดีขึ้นได้บ้าง โดยดูจากไหน ก็จากข้อสองด้านบนครับ หลักการ ซึ่ง เราก็มีสิทธิ์เลือกครับ ว่าเราจะ ตามหลักการ หรือว่า แหกหลักการ แต่อย่างน้อย มันทำให้เรามี framework ในการคิดการทำงานครับอืม ยกตัวอย่าง อย่างเช่นงาน self doubt อันนี้ ผมไม่ได้ทำขั้นตอนอีดิทเลย ทำให้งานทางด้าน shot language เลยออกมาแบบ ไม่ได้ดีดั่งใจเท่าไหร่ ซึ่งก็เข้าใจครับ งานแรกอยากลองให้เสร็จๆไปก่อนด้วย

  4. เริ่มจากน้อยที่สุดก่อน หน่วย 1 เลยครับ เช่นอนิเมตแอคติ้งซีน 12 วินาทีพอ หรือว่า วาดบอร์ดแค่ 9 panel อะไรแบบนี้ หรือว่าน้อยกว่านั้นอีกได้ก็หั่นลงมาอีกเลยครับเป็นต้น ความหมายนี้ ใช้ในเรื่องการหยิบ หลักการมาใช้ก็ได้เป็นต้น เช่น ตอนอีดิธ ขอให้มีสักสามหลักการ animation ได้ไหมสำหรับงานนั้นๆ หรือว่า มีช็อตสามประเภท เป็นต้น กำหนดไม่พอ ต้องเริ่มให้น้อยก่อนด้วยครับ แล้วค่อยๆไต่ขึ้นไป

  5. การทำให้จบครับ อืม ซึ่งตรงนี้ ต้องอาศัยการทำบ่อยๆ เพื่อให้เข้าใจตัวเองว่า จบ คือประมาณไหน ใช้เวลาเท่าไหร่เป็นต้นครับอืม

เอาล่ะ ต่อไปก็มาอัพเดทงานเช้านี้ก่อนครับ งานเจสเจอร์ประมาณนี้ครับ พยายามเลิกตั้งคำถามมากว่า ควรจะต้องทำยังไง แล้วพยายามบอกตัวเองเลยว่า จะทำอะไรเพื่ออะไร มากขึ้นครับ เช่นครั้งนี้ก็พยายาม push ให้ท่าทางของนางแบบ เข้าใจชัดขึ้น อารมณ์ออกมากขึ้น ในแบบเค้าค่อนข้างจะโพสแข็งครับ เลยรู้สึกเห็นความหมายของการฝึก gesture drawing มากขึ้น ใช่ สุดท้ายเราต้องให้ความหมายของตัวเองเองครับ ใช่

ต่อมาเป็นสิบห้านาที เปิดหนังสือ Walt Stanchfield มาอ่านครับ ตอนแรกก็เกือบติดลม จะอ่านต่ออีกแล้ว ไม่เอาๆ เอาตามที่กำหนดเวลาไว้พอ วันละนิดหน่อย แต่ต่อเนื่องดีกว่าครับใช่ วันนี้ได้มาทบทวนเรื่องของ พื้นฐานการวาดอนิเมชั่นก็คือวาดให้มีการ บีบ แล้วก็ ยืด หรือว่า squash and stretch ครับ วอล์ตบอกว่า ทุกๆอย่างบนใบหน้าสัมพันธ์กันหมด เมื่อยิ้ม ปากก็ไปโดนจมูก ไปที่แก้ม แก้มไปหาเปลือกตาล่าง เป็นต้นครับ

ต่อมาเป็นอัพเดทงานจากเมื่อวานครับ ก่อนอื่นก็งานไม้หัวโชว์ ล่าสุดยังไม่ได้กำหนดว่าต้องจบเมื่อไหร่ เหมือนอยากลองสังเกตดูก่อนว่า ลองทำให้ง่ายที่สุด มันจะใช้เวลาเท่าไหร่วันนี้พรุ่งนี้ก็อยากให้จบแล้วครับ

ต่อมาก็งานโปรเจคกลุ่มไทยทูดีครับ ล่าสุดทางกลุ่มขยายเวลาส่งโปรเจคเป็นต้นเดือนพ.ค. แต่ผมกลัวตัวเองยิ่งมีเวลา ยิ่งคิดเยอะ ยิ่งผลัดเนี่ยสิ ผมเลยจะต้องเสร็จให้ได้สิ้นเดือนนี้ครับ แง กลัวๆๆๆๆ ทำได้ๆๆๆๆ เพี้ยง!

ต่อมาก็ แมะ จริงๆต้องทำเสร็จตั้งแต่วันพุธนะเนี่ย แย่แล้วๆๆๆๆ ไม่ดีเลย เกินเวลากำหนด วันนี้ควรเสร็จก่อนด้วยซ้ำน่ะ ออ หมายถึงงานเรียนปปทีฟครับ ล่าสุดจะวาดห้องหญิงเล้กเข้าตีฟหนึ่งจุดครับ มีที่น่าสนใจก็คือ หลักการ 5 ข้อของ เปอร์หนึ่งจุดครับ อันนี้ก็เหมือนกัน น่าจะเอาไปแปะโต๊ะไว้จะได้ไม่ลืมครับ แล้วก็ อาจารย์โรเบิร์ตตรวจการบ้าน เรายังลืมระบุเส้น Vertical Vanishing Line แล้วก็ การวาดทะลุฟอร์ม สำคัญ เพราะเราจะวางของได้ถูกตำแหน่ง คือสิ่งของไม่กินกัน บริเวณใกล้พื้น เป็นต้น

แล้วก็อันนี้เมื่อวานวอร์มเจสเจอร์ไปประมาณนี้ครับ ก็เลิกตั้งคำถามเยอะเหมือนกัน ก็ทำที่คิดว่าตัวเองอยากทำเนี่ยแหล่ะ ไม่ต้องคิดมากเกินไป จริงๆมันอาจจะง่ายๆแค่ วาดให้เข้าใจว่านายแบบนางแบบทำอะไรอยู่ มองแล้วเข้าใจง่าย ก็จบ ใช่ ผมว่าที่ผมอยากทำเพิ่มนะ คือฝึกวาดเจสเจอร์จากตัวละครในหนัง ในการ์ตูน ดีกว่าเช่น วาดตาม Ivandoe หรือ We Bare Bears หรือว่าจากหนัง หรือว่าจากรูปที่เป็นนายแบบนางแบบ ดู เล่าเรื่อง มันน่าจะได้ช่วยโดยตรงให้เอามาใช้ในงานเรื่องเล่าของเรา เทียบกับการไปวาดแต่นายแบบนางแบบ ทำท่ากายกรรมเป็นต้น คือตรงนั้นมันก็คงช่วยแหล่ะ เรื่องท่วงท่าร่างกาย มันก็ได้ประโยชน์ทั้งคู่ เอาว่า สลับกันทำหลายๆแบบดีกว่า อืมๆๆ

สุดท้ายแล้วครับ บทเรียนจาก Walt Stanchfield เมื่อวานครับ ย้ำเตือนเรื่อง anatomy knowledge แล้วก็ squash stretch ซึ่งบางทีมาจากองค์ประกอบภาพของหลายๆอย่างครับ เช่น มองกระเป๋ากับตัวละครเป็นก้อนสามเหลี่ยมเป็นต้น อันนี้ก็น่าสนใจให้คิด ว่าเราต้องมองภาพเป็นก้อนๆชิ้นๆของวัตถุหรือคนต่างๆรวมกันด้วย

ป.ล. ลืมหยิบหนังสือ francis and marcos มาอ่าน แง ไม่เป็นไรนะ อ่านที่มีก่อน อีบุ๊คก็ได้ เพราะวันนี้วันศุกร์ ต้องฝึกฝนเรื่อง storyboarding, storytelling น่ะครับ

Previous
Previous

ผมไม่ยอมแพ้หรอกนะ!

Next
Next

ที่ไม่รู้สึกว่าชีวิตก้าวไปข้างหน้าเพราะว่า