ทำไปแก้ไป
“ความเสร็จสิ้นสมบูรณ์มันอาจจะไม่มีจริงๆก็ได้นะหญิงเล็ก (ผมแก้ประโยคตัวเองไปด้วย ตอนแรกบอกว่ามันไม่มีจริงๆ นั่นไง เผลอตัวให้กับความ absolute อีกแล้ว” ผมได้บทเรียนอีกครั้ง ระหว่างการออกแบบสติกเกอร์ไลน์ ตอนนี้เป็นเวลาประมาณหกโมงเย็น ผมนั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะบจ๊อคคุ้ดเด้น มีหญิงเล็กนั่งอ่านหนังสือ Understanding Comics ของ Scott McCloudอยู่ข้างๆ ผมอดขำด้วยความเอ็นดูไม่ได้หลายๆครั้งเมื่อพัดลมพัดเอาผมใบไม้เธอหลุดจากหัว จนเธอต้องย้ายไปอ่านบนเตียงแทน
เธอติดใจกับสิ่งที่ผู้เขียนอธิบายไว้เกี่ยวกับสเปคตรัมของการรับรู้ความหมายของสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งไหลอยู่ระหว่างความเป็นรูปธรรมที่มาในรูปแบบของภาพถ่ายหรือภาพวาดแบบเสมือนจริงของ ‘คนๆหนึ่ง’ กับ รูปแบบของการใช้ภาษา ก็อย่างเจ้าคำว่า ‘คนๆหนึ่ง’ เนี่ยแหล่ะครับ เธอจึงเริ่มมองเห็น ‘ตัวหนังสือ’ เปลี่ยนไป รวมถึงทฤษฎีเชิงจิตวิทยาที่อธิบายประมาณว่า การที่ตัวการ์ตูนเป็นที่นิยมชมชอบของผู้คน ก็อาจจะเป็นเพราะการถูกลดทอนของลักษณะหน้าตาตัวละครที่ทำให้ผู้อ่านมีความรู้สึกร่วม หรือมีการสร้างตัวตนของตัวเองใส่เพิ่มเติมเข้าไป “ไว้เล็กเก๊ทแล้วจะขอสักหน้าวาดฟีทเจอริ่งกับพี่ทองหน่อยคะ” เธอบอกผม
แสงแดดสีส้มสุดโรแมนติกค่อยๆสาดผ่านผลงานการ์ตูนช่องที่ผมค่อยๆวาดสะสมมาเรื่อย นี่ก็ 6 วันแล้ว ถ้านับรวมวันแรกที่เป็นเรื่องราว 1 หน้ากระดาษของเจ้าชายใหญ่ซึ่งกำลังพับผ้าสไตล์คอนมาริ มันเป็นความรู้สึกที่ประสมกันอย่างประหลาดนะครับ ถ้าถามถึงจังหวะที่ผมวาดการ์ตูนเหล่านี้เนี่ย ผมตอบเลยว่ามันสับสนวุ่นวายมาก เต็มไปด้วยความสงสัยบ้าง ไม่มั่นใจบ้าง หรือไม่บางทีก็เป็นความตื่นเต้น สนุก คล้ายๆว่าทั้งหมดทั้งมวลจะเป็นเรื่องของ อารมณ์ เสียมาก ถ้าถามเอาเหตุผลเนี่ย ผมว่าคงไม่ได้คำตอบอะไรเท่าไหร่ เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นเหตุผลอะไรบางอย่างที่ฝังลึกอยู่ภายในใจ แต่ผมก็ไม่สนครับ ผมก็จะทำต่อไป เพราะผมคิดว่าคำตอบมันน่าจะค่อยๆเปิดเผยออกมาระหว่างที่ผมเดินต่อไปข้างหน้าเรื่อยๆ เหมือนกับวันนี้ที่ผมทำสติกเกอร์มาถึงชิ้นที่ 19 แล้ว!
“วันนี้พี่ทองทำสติกเกอร์ลายอะไรคะ ต้องการให้เล็กช่วยมั้ยค่ะ” หญิงเล็กถามผมหลังจากที่เห็นผมเคาะแป้นพิมพ์อย่างอารมณ์ดี เหมือนว่ากำลังทำอะไรสำเร็จสักอย่าง “ครับเล็ก ตอนนี้ยังไม่มีนะครับ ขอบคุณเรามาก วันนี้สถานการณ์โอเคเลย เพราะวันนี้จริงๆเป็นคิวชายเล็กกับชิ้นที่ 19 พี่วาดเค้าเสร็จแล้วเรียบร้อย ตอนนี้เลยกลับมาค้นงานเก่าๆกลับขึ้นมาแก้ การที่เราทำให้มันเสร็จออกมาก่อนแล้วก็ค่อยมาปรับมันตอนที่งานมีหน้ามีตาออกมาแล้วนี่มันรู้สึกดีจริงๆ อย่างล่าสุดพี่กลับไปแก้ชิ้นแรกสุดเลย ก็ที่วาดเรานั่นแหล่ะ ตั้งแต่ก่อนไปเรียนที่อังกฤษด้วยซ้ำ จำได้มั้ย ท่านั่งสมาธิ พอล่าสุดที่พี่เริ่มได้ไอเดียตอนที่ทำชิ้นชายกลางพูดว่า กินข้าวยัง ตอนแรกกะจะใช้ว่า Have you eaten? แต่ให้ตายเถอะ มันช่างทำให้พี่รู้สึกไม่อินเลย เลยเป็นจุดเปลี่ยนว่า ไม่ได้ละ ต้องกลับมาใช้ภาษาไทย ถึงจะรู้ว่ามัน inclusive น้อยลงกว่าภาษาอังกฤษก็ตาม แต่มองอีกมุมพี่ก็โอเคถ้างานจะเริ่มจากกลุ่มเป้าหมายเล็กๆก่อนอยากเพื่อนพ้องที่อ่านภาษาไทยออกนี่แหล่ะ มันเริ่มจากตรงนั้น เลยทำให้คิดว่า ภาพแรกที่พี่ทำเป็นอนิเมชันเล่าโมเมนต์ตอนที่เรานั่งสมาธิแล้วเหมือนเรารู้สึกว่าตัวเอง (อัตตาหรือเปล่านะ) หายไป กลับกลายเป็นธรรมชาติ พี่เลยคิดเพิ่มบับเบิ้ลคำพูดเข้าไป แวบแรกก็จะเอาคำว่า เย็นหนอ ไปๆมาๆวาดลงไปถึงใน Adobe Illustrator แล้ว แล้วก็พบว่าคนจะเข้าใจมั้ยนะ มันสั้นไปไหม เลยเปลี่ยนเป็น ใจเย็นหนอ ทีนี้เรามาคิดถึงว่า ถ้าตัวเองได้สติกเกอร์นี้มา เรามันกำลังใจร้อน เราฟังแล้วเราอาจจะยิ่งรู้สึกไม่เย็นเข้าไปใหญ่ เพราะเหมือนเรากำลังจะต้องผลักไสอารมณ์ร้อน ซึ่งมันก็เกิดขึ้นจริงในเวลานั้น ออกไป เลยมาเปลี่ยนสุดท้ายเป็นคำว่า รู้หนอ ซึ่งพี่ก็รู้สึกว่ามันครอบคลุมได้ดีที่สุด กลับมาที่ว่ารู้ก็คือรู้ ไม่ว่ามันจะเป็นอารมณ์ ความคิด ก็ตาม ซึ่งพี่ก็พอใจมากนะกับผลลัพธ์ที่ออกมา เลยเคาะแป้นซะดังทำเอาเรางงเลยใช่มั้ย” คงเพราะเพื่อนมนุษย์ก็ไม่ได้คุย พอน้องต้นไม้เปิดโอกาสเสียหน่อย ผมก็ร่ายยาวเลยทีนี้พอได้อธิบายเกี่ยวกับโปรเจคส่วนตัวที่ทำตอนนี้
“มีที่อยากให้ช่วยคือแชร์ให้พี่ฟังหน่อยสิ ว่าอ่านได้อะไรบ้างกับเล่มที่เราถืออยู่” ผมถามหญิงเล็กกลับบ้าง “เยอะแยะคะ อย่างแรกก็อย่างสุดท้ายที่เพิ่งอ่านจบไปเลยคะ พอดีหนังสืออ้างอิงถึงคำจากคุณ Marshall McLuhan ซึ่งเป็นนักปรัชญาชาวแคนาดา ที่บอกเกี่ยวกับว่า คอมิคส์ เนี่ย อ้อ เล็กขอใช้คำว่าคอมิคส์แทนคำว่าการ์ตูนละกันนะคะเพราะว่ามันต่างกัน เอาละค่ะ คือคอมิคส์เนี่ย จัดว่าเป็นสื่อชนิดที่ผู้เสพย์จะต้องมีส่วนร่วมในสื่อมากในการให้ความหมายแล้วก็ตีความ ต่างจากสื่อประเภทอย่างภาพยนต์ที่ผู้เสพย์จะเน้นทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับสารเท่านั้น ตรงนี้ทำให้เล็กคิดได้ว่าพี่ทองอาจจะกำลังค้นหา สื่อ หรือ วิธีการ เล่าเรื่อง ที่ชอบกับเรื่องของพวกเราไม้หัวก็ได้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนล้วนๆ หรือว่างานประกอบ หรือว่างานการ์ตูนช่องก็ตาม
กลับมาที่หนังสือ Understanding Comics เค้าบอกว่าศิลปินแต่ละคนก็จะมีการผสมยำสัดส่วนขององค์ประกอบที่อยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า ‘คำศัพท์ของรูปภาพ’ หรือว่า ‘Pictorial Vocabulary’ แตกต่างกันไปคะ โดยเค้าวาดให้เราดูเป็นเหมือนแผนผังรูปสามเหลี่ยม ซึ่งที่แต่ละขั้วของสามเหลี่ยมนั้นก็จะเป็นตัวแทนของมิติขององค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่เรื่องของ Reality Language แล้วก็ Picture Plane คะ อันนี้ทำเอาเล็กนึกสนุกอยากลองคิดว่าถ้าเล็กจะวาดพี่ทองลงไปในสามเหลี่ยมนี้ ในจุดที่แตกต่างกันไป จะเป็นยังไงค่ะ”
ผมละอึ้งกับสิ่งที่หญิงเล็กเพิ่งได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้ ราวกับผมกำลังคุยสัมพาษณ์อยู่กับศาสตราจารย์ประจำคณะคอมิคส์สื่อสาร
“น่าสนใจสุดๆ พี่นึกไม่ถึงมาก่อน เกี่ยวกับ การมีส่วนร่วม ของผู้เสพย์สาร อาจจะเป็นไปได้นะ เพราะช่วงนี้พี่ก็ไม่ได้ดูหนังมาสักพักแล้วเหมือนกัน มันเหมือนเรารู้สึกว่าเราไม่อยากไปนั่งนิ่งๆ รอรับข้อมูลอย่างเดียว ความเป็นไปได้ การทดลอง ความไม่รู้ สิ่งเหล่านี้ ที่พี่ได้มาตั้งแต่ตอนเรียนที่ RCA มันอาจจะกำลังหาทางชุบชีวิตงานสร้างสรรค์ของพวกเราไม้หัวให้พี่อยู่ก็ได้นะ จากตอนแรกที่พี่ทำเป็นเหมือนอนิเมชัน ไม่พอ ยังทำในลักษณะของการ tell ออกไปเฉยๆ พอตอนนี้ ไม่ว่าการที่พี่ลองเปิดใจให้กับงานเขียน รวมถึงภาพประกอบ จนมาถึงที่ล่าสุด ที่ทดลองวาดภาพลงในช่องๆเพื่อเล่นกับเรื่องเล่าบน ‘สเปซ’ ที่อยู่ติดๆกัน พี่ว่าทั้งหมดตรงนี้มันน่าเป็นการ show มากขึ้น ซึ่งก็คงต้องอาศัยการตีความ แล้วก็ให้ความหมายจากผู้ดู ผู้อ่าน จริงๆนั่นแหล่ะ พี่อาจจะกำลังสนุกกับการปล่อยให้คนอ่านเติมเต็มเรื่องราวของพี่ให้ครบถ้วนอยู่ก็เป็นได้”
“เล็กตื่นเต้นไปหมดแล้วค่ะ กับความเป็นไปได้ของวิธีการบอกเล่าเรื่องราว นี่ขนาดเรายังไม่ได้ว่าไปถึงว่าพี่ทองจะหยิบจับเรื่องอะไรของพวกเราไปบ้างนะคะ นี่ขนาดเล็กยังไม่เฉลยนะคะเนี่ยว่าเล็กไปแอบยูนิคอร์นไว้ที่ไหนในห้องนอนพี่ทอง คิคิคิ” หญิงเล็กขำอย่างอารมณ์ดี เธอคงได้แรงบันดาลใจจากการอ่านจริงๆ แล้วดูจากสีหน้าและแววตาอันเป็นประกายของเธอแล้ว ไม่วายวันนี้ผมว่าผมต้องได้เห็นเธอได้สร้างงานอะไรสักอย่างอีกเป็นแน่
"ตอนแรกเล็กก็คิดว่าอาจจะยังไม่เก๊ทเท่าไหร่กับสิ่งที่อ่าน แต่ตอนนี้เล็กกลับมารู้ตัวอีกแล้วค่ะ ว่าเล็กก็เก๊ทเท่าที่เก๊ทได้ที่สุดตอนนี้ ดังนั้นเล็กจะขออนุญาติฟิทเจอริ่งการวาดกับพี่ทองวันนี้เลยคะ” นั่นไง ผมคิดยังไม่ทัน (ขาดคำ? ขาดสาย?) “ยิ่งไปเห็นศิลปินชาวอังกฤษคนนึงที่หนังสือยกตัวอย่างว่า อย่างเค้าเนี่ยถือว่าอยู่ได้ทุกๆจุดในสามเหลี่ยม คำศัพท์รูปภาพ เลยคะ เพราะเค้าวาดแนวทดลอง แล้วก็พยายามท้าทายตัวเอง เปลี่ยนสไตล์ไปเรื่อยๆ ศิลปินชื่อ Dave McKean คะ เล็กถึงกับไปฟังเค้าให้สัมพาษณ์มากับพ็อดแคสของ Virtual Memories Show ด้วยคะ ยิ่งฟังยิ่งชอบ เค้าหลุดโคว้ตนึงออกมาซึ่งเล็กว่าพี่ทองคงฟินมาก คือ ‘I fell in love with the process of not being in control.’ คะ”
“ฮ่าๆ จริงจ้ะ งั้น วันนี้พี่ก็จะไม่ control อีก (จริงๆนั่นมันก็คือการ control รึเปล่านะ ฮ่าๆ) เอาใหม่ วันนี้พี่ขอเชิญให้หญิงเล็กลุยเลยละกัน ไม่ต้องรอฟีทเจอริ่ง พี่ให้พื้นที่เราสองหน้าเลย ลองดูว่าเราจะวาดอะไรออกมา สู้ๆครับเล็ก” แล้วผมก็ปล่อยตัวเองให้ล่องลอยต่อไปกับอะไรก็ตามที่โผล่เข้ามาเฉพาะหน้า